วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปลาสอด

ปลาสอดแดง
ชื่อสามัญ Red swardtail
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xiphophorus hellerii Heckel, 1848
ลักษณะทั่วไปของปลาสอดแดง
ปลาสอดแดงถึงเป็นปลาพื้น ๆ แต่ก็รู้จักกันดีในหมู่นักเพาะพันธุ์ในขั้นแรก เนื่องจากปลาสอดแดงเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่าย ราคาไม่แพงนัก สีสันสะดุดตาแก่ผู้เพาะเลี้ยง ปลาชนิดนี้ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาประเภทอื่น ๆ มีนิสัยไม่เกเร ส่วนมากอาศัยบริเวณผิวน้ำ ส่วนน้ำที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ควรมีสภาพค่อนข้างกระด้าง และออกไปทางเป็นด่างเล็กน้อย
การเพาะพันธุ์ปลาสอดแดง

การคัดพ่อแม่พันธุ์

การดูอวัยวะเพศปลาสอดแดงทั้งตัวผู้ และตัวเมีย คือ ปลาตัวผู้ลำตัวค่อนข้างแบน ปลายหางเรียวยาว ยื่นออกมาเรียกว่าหางดาบ (swardtail) ส่วนครีบก้นมีลักษณะพุ่งแหลมชี้ขนานไปตามแนวลำตัว เป็นอวัยวะสำหรับผสมพันธุ์เรียกว่า gonopodium ปลาตัวเมียขนาดลำตัวป้อมสั้นกว่าปลาตัวผู้ โดยเฉพาะบริเวณท้องขยายกว้างใหญ่ ส่วนครีบหาง และครีบก้นโค้งมน ไม่พุ่งแหลมเหมือนกับตัวผู้ ลักษณะที่สำคัญของปลาสอดที่ผิดแปลกไม่เหมือนกับปลาบางประเภท คือ ตัวเมียบางตัวสามารถแปลงเพศเป็นตัวผู้ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมบางประการด้วย แต่ตัวผู้ไม่สามารถแปลงเพศได้เหมือนตัวเมีย
ผู้เพาะพันธุ์ควรคัดพ่อแม่พันธุ์ที่มีรูปร่างสมบูรณ์แข็งแรง สีสันสดใสไม่มีสีอื่น ๆ มาแทรก ซึ่งทำให้เกิดตำหนิรอยด่าง ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลำตัวใหญ่ ครีบหาง ครีบอก ฯลฯ ไม่ฉีกขาด และไม่ควรนำปลาที่อยู่ในครอกเดียวกันมาผสม เพราะทำให้ลูกปลาที่เกิดใหม่มีสายเลือดชิดเกินไป
การเพาะพันธุ์ปลาสอดทำได้ง่ายมาก โดยปล่อยแม่พันธุ์ที่ท้องแก่เต็มที่ลงไปไว้ในตู้ก่อนสัก 2 วัน เพื่อสร้างความเคยชินกับน้ำ และสถานที่เพาะพันธุ์เสียก่อน จากนั้นค่อยปล่อยพ่อพันธุ์ลงไป ในอัตราการปล่อย ตัวเมีย ประมาณ 4-5 ตัวต่อตัวผู้ 1 ตัว โดยปลาสอดตัวผู้จะสอดอวัยวะเพศเข้าไปในอวัยวะเพศของปลาตัวเมียเพื่อฉีดน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ในท้อง ตัวเมียให้ลูกภายใน 4 สัปดาห์ และให้ลูกอีก 4-6 ครั้งโดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์ ตัวเมียมีลูก ประมาณครั้งละ 20-100 ตัว ส่วนใหญ่แล้วนักเพาะพันธุ์นิยมปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในเวลาช่วงเวลาเย็น เมื่อแม่ปลาออกลูกแล้วจึงค่อย ๆ ช้อนพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ในระยะ 2 - 3 วันแรก ไม่จำเป็นต้องให้อาหารแก่ลูกปลา หลังจาก 3 วันไปแล้ว ผู้เพาะพันธุ์ควรให้อาหารแก่ลูกปลา
การอนุบาลลูกปลา
แยกลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวนำไปอนุบาลในบ่อ อาหารที่เหมาะสำหรับลูกปลาแรกเกิด ได้แก่ ลูกไรแดง อาจใช้อาหารสำเร็จรูปมาคลุกกับน้ำให้นิ่มแล้วขยี้ผ่านกระชอนให้ลูกปลากิน อนุบาลลูกปลาจนโตพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ อาจย้ายลูกปลาลงอนุบาลต่อในบ่อดิน หรือในกระชังในบ่อดินต่อไป ซึ่งอาหารในช่วงนี้อาจใช้อาหารสำเร็จรูปขนาดเล็กให้ลูกปลากิน ลูกปลาอายุ 1-1.5 เดือน ลูกปลาได้ขนาด 1-1.5 นิ้ว

การดู แยกตัวผู้ตัวเมีย ปลาสอด

วันนี้ขอเริ่มต้นด้วยเรื่องที่จำเป็นที่สุดก่อนนะครับจะเป็นเรื่องอะไรไม่ได้เลยนอกจากเรื่องการแยกเพศปลาหรือว่าการดูตัวผู้ตัวเมียนั่นเอง

การดูเพศปลาสอดหรือว่าการดูตัวผู้ตัวเมียก็ไม่ยากครับ รูปแรกที่เราเห็นมีลำตัวเรียวยาวแบบนี้ตัวผู้ครับ

ส่วนรูปนี้ก็เป็นตัวเมีย ซึ่งจะมีท้องที่ใหญ่อย่างเห็นได้ชัด

โดยรวมแล้วการดูเพศปลาหรือการแยกตัวผู้ตัวเมียสำหรับปลาสอดนั้นทำได้ง่ายครับ แต่จะง่ายกว่าถ้าดูตอนที่ปลาโตเต็มวัยจะเห็นได้ชัดเจนครับ ไงก็ลองไปร้านปลาแล้วก็เลือกปลาสอดตัวผู้ตัวเมียเตรียมเอาไว้ได้เลยครับ คราวหน้าเราจะมาเพาะปลาสอดกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น