วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปลาเสือพ้นน้ำ

ปลาเสือพ่นน้ำ (Archer Fishes) เป็นปลาในอันดับ (Order) Perciformes วงศ์ (Family) Toxotidae พบอยู่ทั้งหมด 6 ชนิดด้วยกัน
ซึ่งปลาในวงศ์นี้มีลักษณะที่แตกต่างจากปลาในวงศ์อื่นๆ คือ ปลาเสือพ่นน้ำจะมีลำตัวที่แบนลึกข้างค่อนข้างมาก ขอบหลังไล่ตั้งแต่ช่วงครีบไปจนถึงหางมีลักษณะเกือบเป็นเส้นตรง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษในกลุ่มปลาที่อาศํยอยู่บริเวณผิวน้ำ ปากมีขนาดใหญ่และมีลักษณะเฉียงลงลึก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายลำตัว พื้นลำตัวทางตอนบนจะมีสีออกเขียวอมเหลืองและจะจางเป็นสีเงินบริเวณใต้ท้อง ข้างลำตัวจะมีจุดสีดำแต้มอยู่ ซึ่งจุดจะมีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของมัน




ในประเทศไทยพบปลาเสือพ่นน้ำถึง 3 ชนิด
ปลาเสือพ่นน้ำมีวีธีหาอาหารที่มีรูปแบบเฉพาะตัว คือ มันจะใช้วีธีพ่นน้ำใส่แมลงที่เกาะกิ่งไม้หรือใบไม้บริเวณผิวน้ำให้ตกลงในน้ำ หลังจากนั้นแมลงก็จะตกเป็นอาหารของมัน
เมื่อปลาเสือพ่นน้ำพ่นน้ำออกไป โดยการปิดฝาปิดเหงือกอย่างทันที น้ำในช่องเหงือกจะถูกดันให้ออกมาทางปากทีละหยดๆต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆจนกว่าเหยื่อจะตกลงมา การพ่นน้ำทีละหยดๆอย่างต่อเนื่องทำให้เรามองเห็นน้ำพุ่งเป็นสายออกมาจากปากปลาเสือพ่นน้ำ

 มิใช่ว่าปลาเสือพ่นน้ำทุกตัว จะใช้วิธีล่าเหยื่อแบบนี้เสมอไป การพ่นน้ำเพื่อล่าเหยื่อนั้นทำได้จริงๆกับพวกปลาเสือพ่นน้ำที่โตเต็มที่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าตัวที่ยังโตไม่เต็มที่จะพ่นน้ำไม่ได้ ทุกตัวสามารถพ่นน้ำได้หมดแต่ระยะทางของน้ำที่พ่นออกไปในตัวยังเล็กก็จะพ่นน้ำออกไปได้เพียงแค่ 10 เซนติเมตร ในขณะที่ตัวเต็มวัย จะสามารถพ่นน้ำได้ไกลถึงเกือบ 2 เมตร

มีข้อสังเกตุอีกอย่าง คือ หากว่าในแหล่งน้ำที่ปลาเสือพ่นน้ำอาศัยอยู่ หรือ ในตู้เลี้ยง ที่มีอาหารให้มันเพียงพอ พวกมันจะไม่แสดงพฤติกรรมการพ่นน้ำ เพราะโดยธรรมชาติปลาเสือพ่นน้ำจะกินพวก แมลง และสัตว์ตัวเล็กๆตามผิวน้ำ เช่น ปลาเข็ม หรือลูกปลา

หากปลาเสือพ่นน้ำ พ่นน้ำใส่เหยื่อของมันแล้วเหยื่อมันก็ไม่ร่วงซักทีมันก็มีอีกวิธีหนึ่งที่จะเอาแมลงเคราะห์ร้ายมาลงท้่องของมัน คือ มันจะดีดตัวพุ่งขึ้นมาเหนือผิวน้ำเพื่อใช้ปากของมันงับเหยื่อเคราะห์ฺร้ายตัวนั้น โดยมันสามารถโดดได้สูงถึง 1 ฟูตเลยทีเดียว แต่วิธีนี้ปลาเสือพ่นน้ำไม่ค่อยนิยมใช้ซักเท่าไหร่




 ลักษณะนิสัยของปลาเสือพ่นน้ำ จัดเป็นปลารักสงบ อาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ
แหล่งอาศัย ของปลาเสือพ่นน้ำ สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำจืดต่างๆตามธรรมชาติ รวมถึงแม่น้ำ และบริเวณน้ำกร่อย
ปลาเสือพ่นน้ำมีแพร่กระจาย ในแถบเอเชียใต้ (อินเดีย,ศรีลังกา)ไล่ไปยัง เอเชียวตะวันออกเฉียงใต้ (พม่า, ไทย, อินโด, เป็นต้น) ไปจนถึง ออสเตรเลีย


 ปลาเสือพ่นน้ำ บางชนิดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 40 เซนติเมตร ในขณะที่สายพันธุ์็ที่พบอยู่ในประเทศไทย มีขนาดเมื่อโตเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 15 เซนติเมตร
การแพร่พันธุ์ ปลาเสือพ่นน้ำจะว่ายออกมาในเขตแนวประการังเพื่อออกมาวางไข่ จำนวน 20,000 - 150,000 ฟอง เมื่อลูกปลาออกจากไข่ก็จะอาศัยอยู่ในเขตป่าชายเลน




ปลาสร้อยนกเขา

ปลา “สร้อยนกเขา” เพาะขยายพันธุ์
ประสบความสำเร็จครั้งแรกของประเทศไทย

สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ “ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ลูกปลาโตเร็วและมีสีสันสวยงาม รูปร่างคล้ายปลาหางนกยูง เหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นปลาทะเลสวยงามอีกชนิดหนึ่ง …
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้ทดลองเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาสร้อยนกเขาทะเล หรือสร้อยนกเขาจุดทอง (Painted Sweetlips : Diagramma pictum) ที่รวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเลี้ยงในบ่อโรงเพาะพันธุ์ปลาทะเลของสถาบัน และเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 ปี ปลาสามารถวางไข่ได้เอง โดยในครั้งแรกได้รวบรวมไข่ปลาขึ้นมาฟักและอนุบาลได้จำนวน 3,000 ตัว ปัจจุบันลูกปลามีอายุ 40 วัน มีขนาดความยาวประมาณ 4 ซม. เหลือจำนวน 400 ตัว
จากการเลี้ยงลูกปลาสร้อยนกเขาจุดทอง พบว่าเป็นปลาที่โตเร็ว และมีสีสันสวยงาม รูปร่างคล้ายปลาหางนกยูง เหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นปลาทะเลสวยงามอีกชนิดหนึ่ง
นอกจากนั้น ปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มวัยยังเป็นที่นิยมในกีฬาตกปลา และมีรสชาติดีเป็นที่นิยมในการบริโภคอีกด้วย นับเป็นการประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในการเพาะขยายพันธุ์ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง
ปลาสร้อยนกเขาจุดทองชนิดนี้มีความสำคัญหลายด้าน ทั้งทางด้านการประมง การกีฬา (gamefish) และนิยมเลี้ยงกันในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (aquarium) ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง จัดอยู่ในวงศ์ Haemulidae (Grunts) เช่นเดียวกับปลากะพงแสม ปลาออดแอด แพร่กระจายทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งร้อน ในประเทศไทยพบทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน
เป็นปลาที่มีประโยชน์ทั้งด้านสันทนาการและการบริโภค เนื่องจากมีรายชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2549 ที่ต้องมีใบรับรองจากกรมประมง และเป็นปลาทะเลที่มีการประกาศราคาซื้อขายเพื่อการบริโภคขององค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
สำหรับการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ยังไม่พบว่ามีรายงานการเพาะขยายพันธุ์มาก่อน จึงนับได้ว่าสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ประสบความสำเร็จที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาสร้อยนกเขาทะเล หรือสร้อยนกเขาจุดทอง เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
คุณยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง บอกว่า สำหรับพ่อแม่พันธุ์ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง ได้ทำการรวบรวมที่บริเวณทะเลชายฝั่งหน้าสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งนี่เอง ในขั้นต้นเรารวบรวมได้ 4-5 แม่ หลังจากที่เลี้ยงมาระยะหนึ่งปลาก็วางไข่โดยธรรมชาติ เนื่องจากปลาพร้อมที่จะวางไข่อยู่แล้ว หลังจากที่ปลาวางไข่ออกมาประมาณ 1-2 หมื่นฟอง
“เราก็นำไข่มาอนุบาลตามวิธีการโดยให้อาหารเป็นโรติเฟอร์ในช่วงแรก หลังจากนั้นเราก็ให้กินอาร์ทีเมีย นับเป็นโชคดีที่ปลาตัวนี้ค่อนข้างติดดี ในครั้งแรกได้ผลผลิตมา 400 ตัว ตัวนี้เป็นปลาที่มีคุณค่าทางด้านปลาสวยงาม สีสันสวยงามมีลายแถบเหลืองอมดำ คาดว่าในอนาคตปลาตัวนี้จะเป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพงตัวหนึ่ง ก็เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการเพาะขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ขึ้นมา”

ปลาม้าลาย

ปลาม้าลาย

ชื่อสามัญ Zebra danio.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Danio rerio (Hamilton, 1822)
ลักษณะทั่วไปของปลาม้าลาย
ปลาม้าลายมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียด้านตะวันออก จัดได้ว่าเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่งที่เพาะพันธุ์ง่าย และมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงขอสภาพแวดล้อมได้ดี จึงเหมาะแก่การเริ่มฝึกหัดเพาะพันธุ์ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องคอยดูแลเอาใจใส่มากนัก ปลาม้าลายเมื่อโตเต็มที่ มีขนาดได้ประมาณ 5 เซนติเมตร สีที่ลำตัวเป็นสีเหลือบน้ำเงิน สลับด้วยสีเขียวมะกอกดำ จำนวน 3 เส้น เป็นแนวยาวตลอดลำตัวจนถึงส่วนหางทำให้มองเห็นลักษณะลวดลายคล้ายม้าลาย จึงได้เรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาม้าลาย และบริเวณใต้ปากมีหนวดอยู่จำนวน 2 เส้น ปลาชนิดนี้ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงๆ ในบริเวณที่มีแสงสว่างพอสมควร การว่ายน้ำ และการผสมพันธุ์มีความว่องไวปราดเปรียว มักว่ายน้ำอยู่บริเวณผิวน้ำอยู่ตลอดเวลา
การเพาะพันธุ์ปลาม้าลาย
การคัดพ่อแม่พันธุ์
ก่อนที่เริ่มลงมือเพาะพันธุ์ปลาม้าลาย ผู้เพาะพันธุ์ต้องแยกเพศปลาจากรูปร่างปลาเสียก่อน ลักษณะปลาม้าลายตัวเมีย มีลำตัวป้อม และสั้นกว่าตัวผู้ เมื่อปล่อยให้ปลาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เห็นได้ว่าตัวผู้มักไล่ต้อนตัวเมียอยู่เสมอ
ปลาที่นำมาเพาะพันธุ์ต้องเป็นปลาที่สมบูรณ์ และแข็งแรง หรือเจริญเป็นตัวเต็มวัยเสียก่อน โดยที่พ่อพันธุ์ควรมีรูปร่างปราดเปรียว สีสันสดใส เครื่องทรงครบสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด สำหรับแม่พันธุ์ควรเลือกให้มีลักษณะเหมือนกับตัวผู้ แต่ตรงบริเวณส่วนท้องต้องอูมหรือเต่งใหญ่แสดงถึงความแก่ของปลา ดังนั้นการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์พยายามอย่าเลือกปลาที่ไม่ยอมเข้าอยู่รวมกลุ่มกับตัวอื่นมาเพาะ เนื่องจากไม่ช่วยในการผสมพันธุ์แล้ว ยังก่อให้เกิดผลจากการกินไข่ที่ออกมาด้วย
อุปกรณ์การเพาะพันธุ์
1 ตู้ที่ใช้เพาะพันธุ์ ควรมีขนาด 12 นิ้ว หรือจะมีขนาดใหญ่กว่านี้ก็ได้ ตามความเหมาะสม
2 พันธุ์ไม้น้ำ เช่นสาหร่ายต่างๆ ประมาณ 1-3 ต้น
3 ก้อนกรวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร
4 ตะแกรงลวดหรือตะแกรงพลาสติก ขนาดเท่ากับความกว้างของตู้ปลา เพื่อป้องกันมิให้พ่อแม่พันธุ์เล็ดลอดออกมากินไข่
5 น้ำสำหรับใช้ในการเพาะพันธุ์ ควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากเชื้อโรคและคลอรีน
หลังจากเตรียมอุปกรณ์เพาะพันธุ์เรียบร้อยแล้ว ควรเลือกสถานที่ตั้งตู้ปลาให้มีแสงแดดอ่อน ๆ ส่องลงมาอย่างทั่วถึง ประมาณวันละ 2-3 ชั่วโมง ปลูกพันธุ์ไม้จำพวกสาหร่ายลงไปประมาณ 2-3 ต้น แล้วนำกรวดที่เตรียมไว้ปูทับลงไปให้สูงจากพื้นตู้ประมาณ 1 นิ้ว แล้วเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อป้องกันเชื้อโรค ใส่น้ำให้ได้ระดับ ใช้ตะแกรงกั้นแบ่งตู้ปลาออกเป็นสองชั้น
การเพาะพันธุ์
เมื่อจัดวางอุปกรณ์พร้อมทุกอย่างแล้ว ให้ปล่อยแม่พันธุ์ที่ท้องแก่เต็มที่ลงไปไว้ในตู้ก่อนสัก 2 วัน เพื่อการสร้างความเคยชินกับน้ำ และสถานที่เพาะพันธุ์เสียก่อน จากนั้นให้นำพ่อพันธุ์ปล่อยลงไปอยู่กับแม่พันธุ์ภายในตู้เพาะพันธุ์ ในอัตราส่วนตัวเมียต่อตัวผู้ เท่ากับ 1 ต่อ 3-4 ตัว ส่วนใหญ่แล้วนักเพาะพันธุ์มักนิยมปล่อยในช่วงเย็นดีที่สุดเพราะแม่พันธุ์มักวางไข่ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น เนื่องจากปลาม้าลายมีการผสมพันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถปล่อยไข่ออกมาขณะที่ว่ายจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ตัวผู้ที่ปล่อยเป็นจำนวนมากนั้นก็เพื่อช่วยผลิต และฉีดน้ำเชื้อไปยังกลุ่มไข่ได้อย่างทั่วถึง ถ้าเราใช้ตัวผู้เพียงตัวเดียวน้ำเชื้อไม่ทั่วถึง ครั้นปลาวางไข่หมดแล้ว สังเกตได้จากแม่พันธุ์ที่ท้องแฟบลง ผู้เพาะพันธุ์ควรตักพ่อ และแม่พันธุ์ออกจากตู้ปลาพร้อมกับเก็บตะแกรงที่กั้นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ออกมาด้วย
การอนุบาลลูกปลา
ไข่ตัวเมียที่ได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้ เจริญเป็นตัวอ่อนภายใน 2-3 วัน ซึ่งระยะนี้ตัวอ่อนต้องใช้อาหารจากไข่แดงที่ติดตัวมา เพื่อการอยู่รอดอีกประมาณ 2-3 วัน จากนั้นไข่แดงถูกย่อยสลายจนหมด อาหารมื้อแรกที่ผู้เพาะพันธุ์ให้แก่ลูกปลา คือ ไรแดง เมื่อลูกปลาโตพอสมควร ให้อาหารลูกน้ำแทนไรแดง เนื่องจากลูกปลาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ข้อพึงระวัง คือ ไม่ควรเลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดเล็กร่วมกับปลาประเภทอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าเพราะจะได้รับอันตรายหรือเป็นอาหารของปลาเหล่านั้นได้

ปลาตีน




ปลาตีน (อังกฤษ: Mudskipper, Amphibious fish) คือ ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อย Oxudercinae ในวงศ์ใหญ่ Gobiidae (วงศ์ปลาบู่) มีทั้งหมด 9 สกุล ประมาณ 38 ชนิด (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามชายทะเลโคลนและป่าชายเลนในเขตร้อนตั้งแต่เขตมหาสมุทรแอตแลนติก ชายฝั่งแอฟริกาจนถึงเอเชียแปซิฟิก มีความยาวลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร ในชนิด Zappa confluentus จนถึงเกือบหนึ่งฟุต ในชนิด Periophthalmodon schlosseri

ลักษณะพิเศษและพฤติกรรม

หัวมีขนาดโต มีตาหนึ่งคู่ตั้งอยู่ส่วนบนสุดของหัวโปนออกมาเห็นได้ชัด ดวงตาสามารถกรอกไปมาได้ จึงใช้มองเห็นได้ดีเมื่อพ้นน้ำ สามารถเคลื่อนที่บนบกได้ โดยใช้ครีบอกที่แข็งแรงไถลตัวไปตามพื้นเลนและสามารถกระโดดได้ด้วย และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนบกได้เป็นเวลานานเนื่องจากมีอวัยวะพิเศษอยู่ข้างเหงือกที่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตำแหน่งของปากอยู่ปลายสุดของหัวขนานกับพื้น หากินในเวลาน้ำลดโดยกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กในพื้นเลน ทำให้แลดูผิวเผินเหมือนสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่าปลา
ปกติปลาตีนจะอาศัยอยู่รวมกันหลายตัวไม่มีออกนอกเขตของตัวเอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาตีนตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้นและมีอาณาเขตของการสืบพันธุ์ โดยจะมีการสร้างหลุมซึ่งมันจะใช้ปากขุดโคลนมากอง บนปากหลุม เรียกว่า หลุมปลาตีน และมีพฤติกรรมหวงเขตแดนเมื่อมีปลาตีนตัวอื่นรุกล้ำ โดยจะแสดงการกางครีบหลังขู่ และเคลื่อนที่เข้าหาผู้รุกล้ำทันที ปลาตีนตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์ในหลุมที่ตัวผู้ขุดไว้

                             

แหล่งที่อยู่ในประเทศไทย

อาศัยในป่าชายเลนในประเทศไทยมีกระจายเป็นตอน ๆ ริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชลบุรี, จังหวัดตราด เรื่อยลงไปถึงจังหวัดปัตตานี ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันพบตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปสุด ชายแดนไทยที่จังหวัดสตูล
สำหรับปลาตีนชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Periophthalmus barbarus, Periophthalmodon schlosseri และ Boleophthalmus boddarti โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น จุมพรวด, ตุมพรวด, กำพุด, กระจัง หรือ ไอ้จัง เป็นต้น
ปลาตีนมักถูกจับมาขายเป็นปลาสวยงามอยู่เสมอ ๆ โดยมักหลอกขายว่าเป็นปลาน้ำจืดหรือปลาจากต่างประเทศ โดยผู้ค้ามักตั้งชื่อให้แปลกออกไป เช่น คุณเท้า, เกราะเพชร หรือ โฟร์อายส์ เป็นต้น

ปลาช่อนอเมชอน











ปลาอะราไพม่าหรือปลาช่อนอะเมซอน (สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง)
เรียบเรียงโดย สุจิตรา จันทร์เมือง

ปลาอะราไพม่าหรือ พิรารูดู Pirarucu (ชื่อพื้นเมืองของชาวบราซิล) และ PAICHE (ชื่อพื้นเมืองของชาวเปรู) ส่วนคนไทยรู้จักกันในนาม "ปลาช่อนอเมซอน" จัดเป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ปลามังกร หรือ ปลาอะโรวาน่า คือ Family Osteoglossidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arapaima gigas
ปลาช่อนอเมซอน จัดเป็นยักษ์ใหญ่ของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำของโลกและสำหรับนักเลี้ยงปลาทุกคน มันถูกจัดเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตได้เร็วมาก มีความยาวได้ถึง 4 เมตร มีน้ำหนักถึง 400 กิโลกรัม ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาเนื้อดีกินอร่อยของชาวบ้านในประเทศ บราซิล เปรู และโคลัมเบีย

ทั้งนี้ ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาที่มีแรงเยอะ ว่ายน้ำและกระโดดเก่งมาก รอบตัวของมันปกคลุมด้วยเกล็ดสีเขียวเหลือบขนาดใหญ่ ท้องเป็นสีขาว โคนหางมีเกล็ดสีแดงกระจัดกระจายอยู่ทั่ว คนไทยส่วนใหญ่นิยมเรียกกันว่า "กุหลาบแดง"
ในอเมริกาใต้ ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาที่นำมากินเป็นอาหาร ส่วนบ้านเราสั่งเข้ามาเลี้ยงเป็น ปลาประหลาดราคาแพง ต้องทำตู้ทำบ่อเลี้ยงกันราคานับแสนบาท ปลาช่อนอเมซอน ถูกจัดเป็นปลาที่อยู่ในกฏเกณฑ์ของการอนุรักษ์สัตว์ของโลกโดย IUCN (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศอังกฤษ และได้มีการประชุมทางอนุรักษ์สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ของโลกไม่ให้สูญพันธุ์ ถึงกับมีข้อตกลงห้ามสั่งเข้าหรือส่งออกปลาดังกล่าวได้โดยเสรี

ส่วนประเทศที่สั่ง ปลาช่อนอเมซอน ที่ระบุชื่่อไว้ก่อนกฏ หรือข้อตกลงใช้บังคับให้ตรวจนับจำนวนแน่นอน หรือส่งปลานั้นคืนประเทศต้นสังกัด เพื่อให้ประเทศที่เป็นถิ่นกำเนิดของสัตว์ชนิดนั้น พยายามเพาะพันธุ์และอนุรักษ์ไว้ให้ได้ ส่วนในประเทศไทยยังไม่ได้ประกาศใช้กฏนี้เป็นทางการ ดังนั้น ปัจจุบันจึงยังมีการสั่งปลาชนิดนี้เข้ามาขายกันอย่างเสรี จากสถิติมีผู้บันทึกไว้ว่า ในปี พ.ศ.2528 ที่ผ่านมา มีการขออนุญาตนำ ปลาช่อนอเมซอน เข้าไทยประมาณ 300 กว่าตัว

                                      
 ลักษณะทั่วไปของ ปลาช่อนอเมซอน

ด้วยสาเหตุที่ ปลาช่อนอเมซอน มีร่างกายขนาดใหญ่โต มันจึงเป็นปลาที่ดูสง่างามอย่างเห็นได้ชัดที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ปลาช่อนอเมซอน จะใช้เวลาทั้งหมดไปกับการว่ายน้ำเล่นไปมารอบ ๆ ตู้ปลา โดยจะมีการว่ายน้ำคดเคี้ยวไปมาเหมือนงู ปลาช่อนอเมซอน จัดเป็นปลาที่น่าสนใจ ตามประวัติมีการขุดพบฟอสซิล (Fossil) ของปลาชนิดนี้ ทำให้สามารถคำนวณอายุของปลาชนิดนี้ได้ว่าได้กำเนิดมาในโลกนี้ เมื่อประมาณกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว และยังคงรูปร่างทรงเดิม
ปลาช่อนอเมซอน จึงจัดว่าเป็นปลาโบราณ มีเกล็ดใหญ่ ปากกว้าง มีฟันซึ่งแม้จะไม่ค่อยเจริญได้ดีแต่ก็สามารถไล่งับหรือฮุบปลากินเป็นอาหารได้ ลักษณะพิเศษของ ปลาช่อนอเมซอน คือ มีอวัยวะเป็นถุงลมอยู่ภายในช่องท้องคล้ายปอด เพราะมีเส้นเลือดฝอยกระจายกันอยู่ทั่วและสามารถเปลี่ยนออกซิเจนได้เช่นเดียวกับปอดมนุษย์เราด้วย

สำหรับลักษณะที่เป็นความสวยเฉพาะตัวของ ปลาช่อนอเมซอน คือ รูปร่างที่มีขนาดใหญ่ มีสีดำเงาเป็นมัน ครีบบน ครีบล่างมีตำแหน่งค่อนไปทางหาง มีแถบสีแดง-ส้มตัดกับพื้นสีดำ หัวแข็งคล้ายกระดูก มีการว่ายน้ำที่ช้าทำให้ดูสง่างาม ปกติชอบว่ายอยู่ใกล้ผิวน้ำและจะต้องขึ้นมาฮุบอากาศทุก ๆ 5-20 นาทีขึ้นอยู่กับขนาดของมันด้วย ถ้าเป็นปลาขนาดเล็กก็จะขึ้นมาฮุบอากาศทุก ๆ 5 นาที แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่ก็จะขึ้นมาฮุบอากาศทุก 18-20 นาที ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาที่ชอบอาศัยในแหล่งน้ำตื้น ถึงแม้จะมีขนาดที่ใหญ่โต และว่ายน้ำช้า ๆ แต่มีความว่องไวมากในยามกินเหยื่อ เคยมีผู้พบเห็น ปลาช่อนอเมซอน ขนาด 2 เมตร ฮุบกินปลาเทพาขนาดคืบกว่าที่มาแย่งโฉบกินเหยื่อ พร้อมกันทีละ 2 ตัวในชั่วพริบตาเดียว
 การเพาะเลี้ยง ปลาช่อนอเมซอน



ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลากินเนื้อที่เจริญเติบโตได้เร็วมาก เมื่อ ปลาช่อนอเมซอน มีอายุได้ประมาณ 4-5 ปี ก็จะถึงวัยสืบพันธุ์ การสังเกตเพศผู้เพศเมียของ ปลาช่อนอเมซอน ถ้าดูจากภายนอกจะดูยาก แต่สามารถดูในฤดูผสมพันธุ์คือช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม ปลาช่อนอเมซอน เพศเมียที่มีไข่บริเวณท้องจะขยายใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนเพศผู้หัวและลำตัวจะมีสีเข้มและสีแดงอมส้มแถบโคนหาง

ทั้งนี้ ปลาช่อนอเมซอน ตัวเมียจะวางไข่ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม มันจะสร้างรังใต้น้ำลึกประมาณ 40-50 ซม. ตัวเมีย 1 ตัววางไข่ได้ประมาณ 100,000 ฟอง และจะใช้เวลาประมาณ 5 วันในการฟักออกเป็นตัว เมื่อฟักไข่แล้ว แม่ปลาก็จะดูแลตัวอ่อนไว้ในปาก ส่วนตัวผู้ก็จะช่วยกันดูแลและป้องกันอันตรายจนกว่าลูกปลาจะเจริญเติบโตและช่วยตัวเองได้
 อาหารและการเลี้ยง ปลาช่อนอเมซอน
ในธรรมชาติ ปลาช่อนอเมซอน จะอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอเมซอน มันจะกระโดดขึ้นมากินนกที่เกาะอยู่บนต้นไม้เตี้ย ๆ ในตู้ปลาอาหารหลักของปลาอะราไพม่าคือ ปลาสดโดยเฉพาะปลาเป็น ๆ เช่น ปลานิล, ปลากัด, ปลาทอง, ลูกกบ หรือไม่ก็เนื้อหมู, เนื้อไก่ เนื้อปลาก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยงนิยมใช้ปลาทองที่พิการมีการซื้อขายกันในราคาถูก ในระยะแรกก็กินน้อย วันละ 3-5 ตัว ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นก็กินมากขึ้น

จากความน่าสนใจของ ปลาช่อนอเมซอน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้กันมาก ราคาซื้อขายสำหรับปลาขนาด 5-6 นิ้ว ตกราคาตัวละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ยิ่งเป็นปลาระดับความยาวเกิน 12 นิ้วขึ้นไป ราคาไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ผู้เลี้ยงปลามักจะสร้างตู้กระจกขนาดใหญ่เพื่อใส่ ปลาช่อนอเมซอน อาจจะเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือจะเลี้ยงรวมกับปลาอะโรวาน่าก็ได้




ปลาช่อนอเมซอน นิยมเลี้ยงไว้เป็นปลาสวยงามในบ้านเรามานานกว่าสิบปีแล้ว ที่ผ่านมาพบว่า ถึงแม้ ปลาช่อนอเมซอน จะเป็นปลาขนาดใหญ่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี แต่ยังมีข้อด้อยบางประการของ ปลาช่อนอเมซอน ที่ควรจะต้องระวังก็คือ หากเลี้ยงในตู้กระจกหรือบ่อปูนควรมีระบบกรองน้ำที่ดีและระบบเพิ่มอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของจำนวนปลา หากน้ำเสียหรือขาดออกซิเจนเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็จะทำให้ ปลาช่อนอเมซอน ตายได้ทันที
ดังนั้น การเลี้ยง ปลาช่อนอเมซอน จึงควรเลี้ยงในที่กว้าง ให้อาหารในปริมาณที่พอเหมาะและควรให้อาหารที่สด ถ้าตู้ปลาเล็กเกินไปปลาจะแสดงออกโดยการว่ายแบบกระวนกระวาย ชนตู้ โดดออกมาหรือไม่ก็หงอยลง ๆ ซึมเศร้า ไม่กินอาหาร จนกระทั่งตายไปเฉย ๆ อย่างไรก็ตาม ปลาช่อนอเมซอน ขนาดใหญ่สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ และหากเลี้ยงในบ่อดินขนาดใหญ่ ปลาช่อนอเมซอน ก็สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สัตว์จำพวกกบ เขียด และปลาตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในบ่อก็จะกลายเป็นอาหารของปลาชนิดนี้ไป ซึ่งจะขยันหากินทั้งเวลากลางวันและกลางคืน

ปลากราย


ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala ornata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 กิโลกรัม
มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา



   
ปลากรายอินเดีย (เบงกาลี: চিতল, ทมิฬ: அம்பட்டன்வாளை, சொட்டைவாளை, அம்புட்டன் வாழ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala chitala ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลากราย (C. ornata) เพียงแต่ปลากรายอินเดียจะมีรูปร่างที่เพรียวกว่า เกล็ดมีขนาดเล็กกว่า บริเวณสันหลังยังมีสีเหลือบทองและยังมีแถบสีเงินเป็นบั้ง ๆ ซึ่งในปลากรายจะไม่มี ลายจุดจะมีลักษณะคล้ายปลาตองลาย (C. blanci) คือ เป็นจุดเล็กกว่าปลากราย แต่ปลากรายอินเดียจะไม่มีจุดมากเท่าปลาตองลาย หรือในบางตัวอาจไม่มีเลย และจุดดังกล่าวเป็นแต้มสีดำไม่มีขอบขาวเป็นวงรอบ และอยู่ค่อนข้างไปทางท้ายลำตัว ปลาในวัยเล็กจะยังไม่มีบั้งสีเงิน
พบในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งปลาชนิดนี้ในความเชื่อของศาสนาฮินดู พระนารายณ์ได้อวตารลงมาเป็นปลากรายทองในชื่อปาง "มัตสยาวตาร" ชาวฮินดูจึงถือว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็นิยมใช้บริโภคในท้องถิ่น [2]
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีราคาสูง เนื่องจากเป็นปลาที่หายาก
อนึ่ง โดยมากแล้วในการอ้างอิงทางอนุกรมวิธาน มักจะจัดให้ปลากรายอินเดียเป็นชนิดเดียวกับปลากราย (Chitala ornata) แต่ความจริงแล้ว ปลาทั้งสองชนิดนี้เป็นปลาคนละชนิดกันเหนือ เป็นต้น



ปลาเกล็ดแก้ว

ปลาทองลูกกอล์ฟใต้น้ำสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยจนเป็นที่รู้จักและยอมรับของทั่วโลกว่าเป็นปลาทองที่แปลกไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้วนี้เป็นปลาที่ชาวไทยเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรกของโลก ซึ่งปลาทองสายพันธุ์นี้มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ โดยสิ้นเชิง นั่นคือเป็นปลาทองที่มีลำตัวกลมมากจนคล้ายลูกปิงปอง โดยเฉพาะเกล็ดบนลำตัวจะมีลักษณะนูนขึ้นจนเป็นตุ่มซึ่งผิดกับเกล็ดของปลาทองโดยทั่วไป ส่วนหัวมีขนาดเล็กมากซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นปลาทองที่มีส่วนหัวเล็กที่สุดก็ว่าได้ และจากลักษณะพิเศษเฉพาะนี้ทำให้ปลาทองเกล็ดแก้วดังข้ามทะเลไปสร้างชื่อเสียงไกลถึงต่างประเทศให้เป็นที่รู้จัก ในนามของ "PEARL SCALE GOLDFISH"
สำหรับประวัติความเป็นมาของปลาทองสายพันธุ์นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์ไม่ได้นำบันทึกการเพาะออกเผยแพร่จึงไม่อาจสืบทราบประวัติที่มาของปลาทองสายพันธุ์นี้ได้ แต่โชคร้ายที่ถึงแม้ว่าปลาทองพันุ์เกล็ดแล้วจะเป็นปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้ในประเทศไทยเราเองก็ตาม แต่กลับเป็นปลาที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงในบ้านเรา เหตุผลเท่าที่ได้ฟังมาเป็นเพราะปลาทองพันุ์นี้เป็นปลาที่เกล็ดยื่นนูนออกมาทำให้แลดูไม่น่ารักแถมบางคนบอกดูแล้วน่าเกลียดมากกว่า แต่ถ้าพูดถึงความยากง่ายในการเลี้ยงแล้วปลาทองสายพันธ์นี้จัดอยุ่ในเกณฑ์ค่อนข้างเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะเป็นปลาที่เปราะบางและป่วยเป็นโรคได้ง่ายสำหรับเทคนิคในการเลี้ยงก็ใช้หลักการเดียวกับการเลี้ยงปลาทองทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้มีผู้ทดลองเพาะพันธุ์ปลาทองพันธุ์นี้จนได้ปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทีรูปทรงแตกต่างออกไปมากมาย เช่นปลาทองเกล็ดแก้วชนิดหางสั้น ชนิดหางยาว ชนิดหัววุ้น และชนิดหัวมุก ฯลฯ และบ้างก็เน้นไปทางสีสันโดยการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีสีสันแปลกๆ ออกไป แต่จุดใหญ่คือการคงไว้ซึ่งเกล็ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับปลาทองเกล็ดแก้วที่เป็นที่นิยมว่าสวยควรมีลำตัวกลมเหมือนลูกปิงปองเกล็ดบนลำตัวจะต้องอยู่ครบทุกเกล็ด เกล็ดที่ดีควรขึ้นเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวควรคอดเล็กแล้วปลายแหลม ส่วนหางควรเบ่งบานแต่จะยาวหรือสั้นก็พิจารณาตามสายพันธุ์ของปลาทองนั้นๆ สำหรับสีบนลำตัวเท่าที่นิยมเลี้ยงๆกัน โดยมากจะเป็นปลาที่มีสีขาวสลับแดงอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาที่มีสีขาวทั้งตัวเป็นปลาที่ไม่สู้ได้รับความนิยมเท่าที่ควร