วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปลาตะเพียนทอง

ปลาตะเพียนทอง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus altus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระแห (B. schwanenfeldi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน คือ มีเกล็ดตามลำตัวแวววาวสีเหลืองทองเหลือบแดงหรือส้ม ครีบหางเป็นสีส้มหรือสีแดงสด แต่ปลาตะเพียนทองมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า และครีบหลัง ครีบหางไม่มีแถบสีดำ
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร
ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี โดยบริโภคเป็นอาหารมายาวนาน และใช้สานเป็นปลาตะเพียนใบลาน พบอยู่ทั่วไปตามห้วยหนอง คลองบึง และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานของไทย มักจะอยู่ปะปนกับปลากระแห ปลาตะเพียนขาว (B. gonionotus) ด้วยกันเสมอ ๆ
ปลาตะเพียนทอง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ตะเพียนหางแดง" หรือ "ลำปำ" หรือ "เลียนไฟ" ในภาษาใต้ ซึ่งซ้ำกับปลากระแห จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม


วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, อังกฤษ: Barb, Carp, Minnow, Goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae (/ไซ-พริ-นิ-ดี้/) มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว [1]
ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes
เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชนิด



ลักษณะ

ไม่มีฟันที่ริมฝีปาก แต่มีฟันซี่ใหญ่อยู่ในลำคอ เกล็ดเป็นแบบขอบเรียบและบาง ครีบเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางส่วนมากเป็นเว้าแฉกลึก ครีบท้องอยู่ค่อนมาทางตอนกลางของลำตัวด้านท้อง ซึ่งลักษณะสำคัญของปลาในวงศ์นี้ก็คือ
1. มีฟันเฉพาะที่ลำคอ เกิดจากกระดูกลำคอด้านล่างอันสุดท้าย มีอยู่ประมาณ 1-3 แถว และมีแผ่นกระดูกที่ฐานบนกระดูกลำคอ ช่วยในการบดย่อยอาหาร
2. มีเกล็ดแบบขอบเรียบบนลำตัว มีหัวไม่มีเกล็ดและไม่มีครีบไขมัน
3. ถุงลมแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกไม่ติดกับกระดูกสันหลัง ตอนหลังมีขนาดเล้กฝังอยู่แน่นกับกระดูกสันหลัง[3]
ลำตัวมักแบนข้างหรือเป็นแบบปลาตะเพียนที่รู้จักดี แต่ก็มีบางชนิดที่ลำตัวค่อนข้างกลม เช่น ปลาเล็บมือนาง (Crossocheilus reticulatus) เป็นต้น ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์คือ ปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis) ที่ยาวเต็มที่ได้เกือบ 3 เมตร อาศัยเฉพาะในน้ำจืด ส่วนมากเป็นปลากินพืช แต่ก็พบมีหลายชนิดกินเนื้อหรือแพลงก์ตอน ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ยกเว้นบางชนิดสีและตุ่มข้างแก้มในตัวผู้ ต่างจากตัวเมีย แพร่พันธุ์ขยายพันธุ์โดยการวางไข่จำนวนมาก พบในแม่น้ำเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาวเกือบทั่วโลก ยกเว้นขั้วโลก, ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกาใต้
จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น