วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วงศ์ปลานกขุนทอง


ปลานกขุนทองปากยื่น (อังกฤษ: Longjawed wrasse, Slingjaw wrasse; ชื่อวิทยาศาสตร์: Epibulus insidiator) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae)
จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Epibulus [2]
เป็นปลาที่มีความแปรฝันของสีสันลำตัวสูง โดยปกติแล้วตัวเมียจะมีสีเหลือง ส่วนตัวผู้มีลำตัวสีดำ บริเวณส่วนหน้าและหลังสีขาว แต้มด้วยสีแดงบริเวณหน้าผาก มีขากรรไกรที่ออกแบบมาให้ยื่นออกไปได้ยาวเป็นพิเศษเพื่อใช้จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อันเป็นที่มาของชื่อ มีพฤติกรรมว่ายน้ำโดยการเอาหน้าทำมุมกับพื้นเพื่อมองหาเหยื่ออยู่ตลอดเวลา อาศัยอยู่ในบริเวณแนวปะการัง
มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน


วงศ์ปลานกขุนทอง (อังกฤษ: Wrasse, Rainbowfish; วงศ์: Labridae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes)
มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง ริมฝีปากหนา สามารถยืดหดได้ กระดูกพรีแม็คซิลลารี เพดิเคิลส์เจริญดี โดยปกติมีฟันแบบฟันเขี้ยวแหลม หรือฟันตัดเพียงแถวเดียว ฟันที่หลอดคอมีขนาดใหญ่พัฒนาดี ไม่มีฟันบนกระดูกโวเมอร์และกระดูกพาลาติน เกล็ดที่ปกคลุมลำตัวมีขนาดใหญ่เป็นแบบขอบเรียบ เส้นข้างลำตัวอาจขาดตอนหรือสมบูรณ์ เป็นปลาที่มีสีสันสดใสสวยงาม รูปร่างลำตัวมีหลายรูปแบบ อาศัยอยู่ในแนวปะการัง หรือกองหินใต้น้ำ
มีขนาดรูปร่างแตกต่างหลากหลายกันมาก ตั้งแต่มีความยาวเพียง 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร ในปลานกขุนทองหัวโหนก (Cheilinus undulatus) ซึ่งเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และจัดเป็นปลากระดูกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งที่พบได้ในแนวปะการัง[1]
มี 82 สกุล[2] พบมากกว่า 600 ชนิด นอกจากปลานกขุนทองหัวโหนกแล้ว ยังมีชนิดอื่น ๆ ที่รู้จักกันดี อาทิ ปลานกขุนทอง (Halichoeres kallochroma) เป็นต้น[


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น