วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปลาปักเป้าน้ำจืด

ปักเป้าน้ำจืดที่พบในเมืองไทยมี 3 สกุล 12 ชนิดดังนี้
ขอขอบคุณที่มาเนื้อหาดีๆ : siamensis.org
สกุล Carinotetraodon
ปักเป้าสกุลนี้มีลักษณะที่เด่นกว่ากลุ่มอื่น โดยเพศผู้และเพศเมียมีความแตกต่างกันมาก ทั้งในเรื่องรูปร่างและสีสัน ปลาเพศผู้จะมีลำตัวใหญ่กว่า แบนข้างมากกว่า และมีสีสวยงามมาก นอกจากนี้ในการแสดงความก้าวร้าวปลาปักเป้ากลุ่มนี้เพศผู้สามารถกางส่วนของผิวหนังบนส่วนหัวและท้องได้
ปักเป้าสกุลนี้มีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าปักเป้าสกุลอื่น และยังมีสมาชิกเป็นปักเป้า ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกได้แก่ เจ้าปักเป้าสีเหลืองตัวจ้อย Yellow Puffer (C. tarvancoricus)




ปักเป้าสมพงษ์ (ปลาสวยงาม), ปักเป้าตาแดง(ฝั่งธนบุรี) Carinotetraodon lorteti (Tirant, 1885)
ปลาสกุลนี้น่าจะพบในประเทศไทย 2 ชนิด โดยทั่วไปจะรู้จักเพียงชนิดเดียวที่เรียกกันว่า “ปักเป้าสมพงษ์ “ แต่อย่างไรก็ดี จากการสำรวจผมเคยได้พบตัวอย่างปักเป้าสกุลนี้จากแม่น้ำตาปี และแม่น้ำโกลกซึ่งน่าจะเป็นอีกชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรมาเลย์
เจ้าปักเป้าตัวน้อยนี้ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรง โดยในวัยเด็กเนื่องจากบ้านของผมอยู่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตคลองสานฝั่งธนบุรี แต่ก่อนเจ้านี่ชุกชุมมากผมไม่เคยเห็นปักเป้าชนิด อื่นเลยนอกจากชนิดนี้ แถวบ้านผมนอกจากจะมีการเลี้ยงปลากัด ปลาเข็ม และปลาหัวตะกั่วไว้ กัดกันแล้ว ปักเป้าชนิดนี้ก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่มีการเลี้ยงไว้ในไหเล็กๆ เพื่อนำมากัดกันตามภาษา เด็ก เราจะไปหาช้อนตามกอผักตบชวาที่เราเรียกกันว่าสวะ โดยปลาจะแอบอยู่บริเวณรากใต้กอ สวะ เราสามารถเห็นแถบสีที่คล้ายอึ่งอ่างได้อย่างชัดเจน ปลาชนิดนี้จับง่ายเนื่องจากเคลื่อนที่ช้า ในการช้อนครั้งหนึ่งๆ ได้ประมาณ 3-4 ตัว/กอสวะหนึ่งกอ
ปลาชนิดนี้ชอบกินกุ้งขนาดเล็กที่อยู่ตามกอสวะ ในที่เลี้ยงจะชอบหนอนแดงและไรทะเล ควรเลี้ยงระบบฮาเร็มประกอบด้วยตัวผู้หนึ่งตัว/เพศเมีย 3-4 ตัว เนื่องจากตัวผู้มักกัดกันรุนแรง มากกว่า ปลาชนิดนี้สามารถพบได้ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำโขงตอนล่างในเขต กัมพูชาและเวียดนาม


ปักเป้า Carinotetraodon cf. salivator
เป็นปลาปักเป้าสกุลนี้ที่พบในเขตภาคใต้ในแม่น้ำโกลก และ แม่น้ำตาปี แต่ผมไม่ได้เก็บ ตัวอย่างไว้เปรียบเทียบ อย่างไรก็ดีปลาชนิดนี้มีรายงานการกระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมาเลย์และ ตอนเหนือของกาลิมันตัน



สกุล Chonerhinusปักเป้าสกุลนี้มีลักษณะที่เด่นกว่ากลุ่มอื่น ตรงที่มีลำตัวค่อนข้างแบนข้าง มีครีบหลังและ ครีบก้นค่อนข้างใหญ่ ว่ายได้รวดเร็วกว่าปักเป้าน้ำจืดกลุ่มอื่น พองได้น้อยกว่าปักเป้ากลุ่มอื่น เป็น ปักเป้าที่มีความอันตรายต่อความเป็นชายมากกว่ากลุ่มอื่น ในไทยพบสองชนิด


ปักเป้าทอง Chonerhinus modestus (Bleeker, 1850)
เป็นปลาในสกุลนี้ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ส่วนใหญ่ถูกรวบรวมมาจากแม่น้ำบางปะกง ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ปลาชนิดนี้พบในแม่น้ำในพื้นที่ซึ่งมีอิทธิพลของน้ำขึ้นลง เป็นปลาที่มัก พบรวมกันเป็นฝูงใหญ่ เป็นปลาที่ก้าวร้าวพอสมควรในตู้เลี้ยงถึงแม้จะเป็นพวกเดียวกันเอง ขนาด โตเต็มที่พบมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ปลาชนิดนี้มีรายงานการพบในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำบางปะกงด้วย

ปักเป้าทอง Chonerhinus nefastus Roberts, 1982
เป็นปักเป้าทองที่พบบ่อยในแม่น้ำโขง และลำน้ำสาขา มีขนาดโตเต็มที่ค่อนข้างเล็ก มีลำ ตัวที่เพรียวยาวกว่า C. modestus อย่างเห็นได้ชัด นอกจากแม่น้ำโขงแล้วผมยังได้ตัวอย่างจาก แม่น้ำปัตตานี อีกที่หนึ่งด้วย



สกุล Tetraodon
เป็นตัวแทนของวงศ์ Tetraodontidae ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ส่วนมากปลาปักเป้าในสกุลนี้มักมีนิสัยชอบซุ่มโจมตีเหยื่อ มากกว่าที่จะออกแรงว่ายน้ำไล่ โดย ส่วนมากปักเป้าในสกุลนี้ในขณะที่พองจะสามารถขยายขนาดได้มากกว่าสองสกุลแรกข้างต้น




ปักเป้าหางวงเดือน Tetraodon cutcutia (Hamilton, 1822)
ปลาปักเป้าชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์กว้างจากอินเดีย พม่า มาจนถึงประเทศไทยใน บริเวณ ชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน เจ้านี่ชอบอยู่ตามห้วยที่มีน้ำค่อนข้างไหลถ่ายเทพอสมควร เป็นปักเป้าที่มีผิวบางที่สุดในบรรดาปักเป้าที่พบในบ้านเราและที่สำคัญมันไม่มีหนามขนาดเล็กๆ ที่ผิวลำตัว (เป็นเกล็ดแบบพิเศษประเภทหนึ่ง) ปลาปักเป้าชนิดนี้ค่อนข้างก้าวร้าว กัดกันรุนแรง อาจจะเนื่องจากมีผิวบาง อย่างไรก็ดีเนื่องจากลักษณะหนังที่บางและไม่มีหนามเล็กๆ ทำให้ผิวมัน วาวสวยงาม นอกจากนี้ครีบหางของปลาปักเป้าชนิดนี้จะมีขอบสีแดงลักษณะเดียวกับปลากัดทุ่ง ภาคใต้ Betta imbellis




ปักเป้าขน Tetraodon baileyi Sontirat, 1985
เจ้านี่เป็นสุดยอดของการพรางตัวของปลาปักเป้าและน่าจะเป็นปลาปักเป้าเพียงชนิด เดียวที่มีการแปลงกายที่น่าตื่นตาเช่นนี้ ปลาชนิดนี้ไม่มีหนาม ผิวลำตัวจะมีติ่งเนื้อซึ่งจำนวนมาก น้อยแตกต่างกันและจากประสบการณ์ของผมพบว่าบางตัวจะไม่มีติ่งเนื้อนี้เลย สภาพแวดล้อมที่ ปักเป้าขนอาศัยมีลักษณะเป็นพลาญหิน (แผ่นหินที่แผ่กว้าง มีหลุมหรือร่องกระจายทั่วไป) ปักเป้า ขนเป็นปักเป้าที่ก้าวร้าวอีกชนิดหนึ่งและเป็นปลาที่พบในระบบแม่น้ำโขงเท่านั้น


ปักเป้าควาย, ปักเป้าสุวัติ Tetraodon suvatti Sontirat&Soonthornsatit, 1985
เป็นปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่มีความโดดเด่น ปักเป้าชนิดนี้มีปากเรียวยาวปากงอนขึ้นด้าน บน และยังมีลายลักษณะคล้ายหัวลูกศรที่บริเวณด้านบนระหว่างตาทั้งสองข้าง ปักเป้าควาย บางตัวอาจมีสีส้มแดง อย่างไรก็ดีเมื่อนำมาเลี้ยงจะเปลี่ยนเป็นสีปกติ ปักเป้าชนิดนี้เป็นปักเป้าที่ พบเฉพาะแม่น้ำโขงอีกเช่นกัน ในที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ไม่ค่อยก้าวร้าวเท่าปลาปักเป้าชนิดอื่น ถ้าพื้น เป็นทรายหรือกรวดขนาดเล็กปลาจะฝังตัวโผล่แต่ตาและริมฝีปากล่างที่มีลักษณะคล้ายติ่งเนื้อยื่นออกมา



ปักเป้าจุดส้ม Tetraodon abei Roberts, 1999
เป็นปลาปักเป้าที่พบทั้งในภาคกลางและลุ่มน้ำโขง มีปากค่อนข้างใหญ่ และมีจุดส้ม กระจายทั่วตัว นอกจากนี้บริเวณข้างลำตัวในแนวระหว่างครีบหลังและครีบก้นจะไม่มีจุดกลมแดง ขนาดใหญ่


ปักเป้าตาแดง Tetraodon leiurus Bleeker, 1851
เป็นดาราเอกของเหล่าสมัชชาปลาปักเป้าน้ำจืด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลาชนิดนี้มี การกระจายพันธุ์กว้างที่สุด จะงอยปากค่อนข้างสั้น และมีจุดแดงในแนวระหว่างครีบหลังและครีบ ก้นเด่นชัด เราสามารถพบปักเป้าชนิดนี้ได้ตามริมน้ำ หนอง บึง เขื่อน เกือบทั่วประเทศ ในเรื่องชื่อ วิทยาศาสตร์ Tetraodon leiurus มีชื่อพ้องหลายชื่อเช่น T. cochinchinensis, T. cambodgiensis, T. fangi



ปักเป้าปากยาว Tetraodon cambogensis Chabanaud, 1923
ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายกับ T. leiurus มาก แต่จะมีจงอยปากยาวกว่าอย่างเห็นได้ ชัดนอกจากนี้แต้มสีที่บริเวณข้างลำตัวยังเป็นแต้มสีแดงขนาดใหญ่มากและมีวงสีขาว และแต้ม สีคล้ำกระจายรอบ ปักเป้าชนิดนี้ก้าวร้าวมาก พบทั้งบในภาคกลางและภาคใต้


ปักเป้าปากยาวโขง Tetraodon barbatura Roberts, 1999
เจ้านี่ก็ปากยาวเหมือนกันแต่มีลักษณะเด่นที่ริมฝีปากล่างจะมีแต้มสีดำ และส่วนท้องจะ ขาวไม่มีลายปลาชนิดนี้พบในแม่น้ำโขง


ปักเป้าท้องตาข่าย Tetraodon palembangensis Bleeker, 1852
เป็นปลาที่พบเฉพาะทางใต้ โดยมีรายงานจากทะเลสาบสงขลา เป็นปักเป้าที่พบชุกชุมใน บางฤดูกาลบริเวณลำคลองรอบๆ พรุโต๊ะแดง ที่นราธิวาส ปักเป้าชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่หนังหนา หนามค่อนข้างใหญ่ และมีตาโตมาก นอกจากนี้เวลาพองจะพองได้กลมเหมือนลูกบอลเลยทีเดียว ปลาปักเป้าชนิดนี้ก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างเรียบร้อย

อีกสองชนิดที่จะกล่าวถึงอยู่ค่อนไปทางน้ำกร่อย ถึงบริเวณชายฝั่งทะเล แต่เป็นปลาที่ พบได้ในตลาดปลาสวยงามเสมอๆ ได้แก่


เห็นได้ตามร้านปลาสวยงามทั่วไปได้เยอะที่สุด

ปักเป้าเขียวจุด Tetraodon nigroviridris Proce, 1822
ปลาชนิดพบเป็นจำนวนมากบริเวณป่าชายเลน ปรับตัวได้ดีมาก ในน้ำทะเลก็ปรับตัวได้ ในน้ำจืดถ้าตู้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ก็ปรับตัวได้ดี และอยู่ได้ในระยะเวลานาน


ปักเป้าซีลอน ปักเป้าเลขแปด Tetraodon biocellatus Tirant, 1885
เป็นปลาปักเป้าที่พบมากตามแม่น้ำในภาคตะวันออก โดยเฉพาะแม่น้ำบางปะกง ปลาชนิดนี้จะพบเข้ามาในเขตน้ำจืดมากขึ้นกว่าปักเป้าเขียวจุด มีลักษณะเด่นที่ลายด้านบนส่วนหลังมีลักษณะคล้ายเลขแปด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น