วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปลาตะเพียน


ปลาตะเพียนทราย



ลักษณะทั่วไปของปลาตะเพียนทราย




ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius bimaculatus (Bleeker, 1863)

ชื่อไทย ตะเพียนทราย
ชื่อสามัญ Spot Barb

ลักษณะทั่วไป
ปลาตะเพียนทราย Puntius bimaculatus (Bleeker, 1863) เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก พบบริเวณลำธารบนภูเขา ลำตัวรูปไข่แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็ก เมื่อโตเต็มวัย ลำตัวป้อมสั้น มีสีเงินเหลือบเขียวอ่อนหรือสีเหลือง บริเวณกลางลำตัว โคนครีบหลัง และโคนครีบหางมีจุดสีดำ ครีบหลังสั้น ครีบหางเว้าลึกสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาล มีหนวด 2 คู่ มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัว 23-24 เกล็ด เมื่อโตเต็มที่ความยาวมาตรฐาน (standard length) ประมาณ 7.0 เซนติเมตร กินอินทรีย์สารหน้าดิน ตะไคร่น้ำ และแมลงน้ำขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำใส พื้นเป็นทรายปนกรวดหรือหิน ตามลำธาร ลำห้วยในป่า การแพร่กระจายพบได้ตามลุ่มน้ำโขงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา สำหรับในประเทศไทย พบตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาและบริเวณลำธารที่มีน้ำสะอาดบนภูเขา ไข่ปลาตะเพียนทรายมีลักษณะกลม สีเหลืองใส เป็นไข่จมแบบติดกับวัตถุ เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 0.90+0.07 มิลลิเมตร ไข่ปลาตะเพียนทรายมีการพัฒนาของคัพภะในระยะต่างๆ หลังจากไข่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อ สรุปได้ดังนี้ ระยะ cleavage ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ระยะ blastula ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 5 นาที ระยะ gastrula ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 10 นาที พัฒนาจนถึงขั้นเกิด somite ใช้เวลา 7 ชั่วโมง 25 นาที และใช้เวลาฟักเป็นตัวเวลา 16 ชั่วโมง 55 นาที ที่อุณหภูมิน้ำ 25 องศาเซลเซียส มีความยาวเฉลี่ย 3.37+0.09 มิลลิเมตร ไข่ปลาตะเพียนทรายฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 16 ชั่วโมง 55 นาที ที่อุณหภูมิน้ำ 25 องศาเซลเซียส มีความยาวเฉลี่ย 3.37±0.09 มิลลิเมตร ลูกปลาวัยอ่อนมีการพัฒนาระบบทางเดินอาหาร โดยมีการเจริญของท่อทางเดินอาหารสังเกตได้ชัดเจน และเริ่มกินอาหารได้เมื่ออายุ 3 วัน มีขนาดความกว้างของปากลูกปลา 0.58±0.04 มิลลิเมตร หลังจากนั้นมีการพัฒนาอวัยวะต่างๆ จนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัย ใช้เวลา 45 วัน


ลักษณะปลาตะเพียนทรายเพศผู้ และเพศเมีย




คัพภะวิทยาของปลาตะเพียนทราย
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น