วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปลากราย


ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala ornata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 กิโลกรัม
มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา



   
ปลากรายอินเดีย (เบงกาลี: চিতল, ทมิฬ: அம்பட்டன்வாளை, சொட்டைவாளை, அம்புட்டன் வாழ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala chitala ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลากราย (C. ornata) เพียงแต่ปลากรายอินเดียจะมีรูปร่างที่เพรียวกว่า เกล็ดมีขนาดเล็กกว่า บริเวณสันหลังยังมีสีเหลือบทองและยังมีแถบสีเงินเป็นบั้ง ๆ ซึ่งในปลากรายจะไม่มี ลายจุดจะมีลักษณะคล้ายปลาตองลาย (C. blanci) คือ เป็นจุดเล็กกว่าปลากราย แต่ปลากรายอินเดียจะไม่มีจุดมากเท่าปลาตองลาย หรือในบางตัวอาจไม่มีเลย และจุดดังกล่าวเป็นแต้มสีดำไม่มีขอบขาวเป็นวงรอบ และอยู่ค่อนข้างไปทางท้ายลำตัว ปลาในวัยเล็กจะยังไม่มีบั้งสีเงิน
พบในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งปลาชนิดนี้ในความเชื่อของศาสนาฮินดู พระนารายณ์ได้อวตารลงมาเป็นปลากรายทองในชื่อปาง "มัตสยาวตาร" ชาวฮินดูจึงถือว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็นิยมใช้บริโภคในท้องถิ่น [2]
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีราคาสูง เนื่องจากเป็นปลาที่หายาก
อนึ่ง โดยมากแล้วในการอ้างอิงทางอนุกรมวิธาน มักจะจัดให้ปลากรายอินเดียเป็นชนิดเดียวกับปลากราย (Chitala ornata) แต่ความจริงแล้ว ปลาทั้งสองชนิดนี้เป็นปลาคนละชนิดกันเหนือ เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น